สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด

งานประชาสัมพันธ์ / กิจกรรม

สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด เลขที่ 9 หมู่ที่ 21 ถ.ปัทมานนท์ ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 โทร:043-626909 โทรสาร:043-626910
*
ข้าราชการ

ลูกจ้างประจำ


 
พนักงานราชการ


 
Under Cont
โครงสร้างผู้บริหาร

 

ประวัติความเป็นมาจังหวัดร้อยเอ็ด

เมืองร้อยเอ็ด แต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่เจริญรุ่งเรืองมาก เรียกว่า เมืองสาเกตุนครหรืออาณาจักรกุลุนฑะนคร มีประตูเข้า 11 ประตู มีเมืองขึ้นทั้งสิ้น 11 เมือง ตามตำนานอุรังคธาตุได้เล่าว่ามีนครใหญ่แห่งหนึ่งชื่ออาณาจักรกุลุนฑะนครมีเมืองหลวงชื่อสาเกตุ เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น เจ้าผู้ครองนครชื่อ พระเจ้า“กุลุนฑะ” มีกุศโลบายในการปกครองที่ชาญฉลาดโดยให้ขุดคูน้ำ ทำคันดิน เป็นกำแพงสูงรอบเมืองเจาะช่องทางเข้าเมืองจำนวน 11 ประตู ตามจำนวนเมืองขึ้น 11 เมือง (เดิมเขียน 10,1 หรือ สิบหนึ่ง) กำหนดรหัสเข้าเมืองอย่างรัดกุม เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นให้เป่าปี่ซาววา (ปี่ 20 วา) เป็นสัญญาณและใช้ม้าเร็วชื่อ แม่แล แจ้งเหตุนั้นๆ การปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุขสืบมาจนถึงสมัยพระเจ้าสรุยวงษาธรรมมิกราช ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกพวกขอมคุกคาม จึงพาไพร่พลอพยพไปอยู่แหล่งใหม่ หัวเมืองขึ้นก็เกิดการกระด้างกระเดื่องจนถึงการวิบัติในที่สุด ปี 2256 พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าผู้ครองเมืองจำปาศักดิ์ได้มอบหมายให้อาจารย์แก้วคุมไพร่พลมาสร้างเมืองชื่อว่าเมืองทุ่ง (อำเภอสุวรรณภูมิ) ให้อาจารย์แก้วเป็นเจ้าเมืองขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์ เมื่ออาจารย์แก้วถึงแก่กรรม ท้าวมืดบุตรคนโตของอาจารย์แก้วได้เป็นเจ้าเมือง และท้าวทน ผู้น้องชายเป็นอุปราช เมื่อท้าวมืดถึงแก่กรรมท้าวทนได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน สร้างความไม่พอใจแก่ท้าวเชียงและท้าวศูนย์บุตรชายเท้ามืดเป็นอันมาก ท้าวเชียงกับท้าวศูนย์ได้แต่งเครื่องบรรณาการไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา ให้ส่งคนมาเจรจาขอคืนอำนาจจากท้าวทนจนสำเร็จ เมื่อท้าวทนสละตำแหน่งให้แก่หลานทั้งสองก็ได้รวมไพร่พลกลุ่มหนึ่งอพยพมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณบ้านกุมร้าง หรือเมืองสาเกตุเดิม (เมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน) และมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอพระราชทานอนุญาตตั้งบ้านกุมร้างขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ด เมืองร้อยเอ็ดได้ปกครองตนเองมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุข จนกระทั่งปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวโปรดให้จัดการปกครองขึ้นใหม่โดยแบ่งภาคอีสานออกเป็นสองมณฑล คือ มณฑลลาวพวนกับมณฑลลาวกาว ตั้งเมืองร้อยเอ็ดเป็นศูนย์กลางการบริหารภาคอีสานตอนกลางและล่าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 ได้แยกมณฑลลาวกาวออกเป็นสองมณฑล คือมณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 มณฑลร้อยเอ็ดจึงถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็น จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน

ภูมิประเทศ ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลักษณะภูมิประเทศ   โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-160 เมตร     ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 24 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 19 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 103 องศา 16 ลิปดาตะวันออก ถึง 104 องศา 21 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตางรางกิโลเมตร หรือ 5,187,156 ไร่ มีภูเขาทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น บริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูลและสาขา ได้แก่ ได้แก่ลำน้ำชี ลำน้ำพลับพลา ลำน้ำเตา เป็นต้นบริเวณที่ราบต่ำอันกว้างขวาง เรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ

มีเขตแดนติดต่อ

ทิศเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ จรดจังหวัดกาฬสินธุ์

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดจังหวัดมุกดาหาร

ทิศตะวันออก จรดจังหวัดยโสธร

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรด จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศใต้ จรดจังหวัดสุรินทร์

ทิศตะวันตก จรดจังหวัดมหาสารคาม


ประวัติการก่อตั้งทุ่งกุลาร้องไห้

            ทุ่งกุลาร้องไห้ ครอบคลุม 5 จังหวัด คือ มหาสารคาม สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีษะเกษ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะทอดตัวยาวจากตะวันตกไปตะวันออก ยาว 150 กม. ส่วนที่กว้างที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด 50 กม. มีเนื้อที่ 2.1 ล้านไร่ ประกอบไปด้วยทุ่งขนาดเล็กหลายทุ่ง ติดต่อกัน เช่น ทุ่งหมาหลง ทุ่งประแหล่น ทุ่งหลวง ทึ่งกุลาเป็นแหล่งที่เคยมีความเจริญมีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานมามากกว่า 2,500 ปี มีวัฒนธรรมเป็นของชุมชน เรียกว่า “วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้” หรืออาณาจักรเกลือ 2,500 ปี มีการผลิตเกลือเพื่อขายและมีการถลุงเหล็กใช้ในด้านต่างๆ เป็นที่มาของการค้าทำให้เกิดตำนาน “ทุ่งกุลาร้องไห้”

            อาณาจักรนี้ได้มีการล่มสลายไป ในช่วงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา และกลับมาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มต้นอีกครั้งในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา โดย เจ้าแก้วมงคล จากนครจำปาศักดิ์ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปี พ.ศ.2460 ทุ่งกุลาร้องไห้กลายเป็นทุ่งร้าง ท้องทุ่งมีแต่พงหญ้า ไม้พุ่มขนาดเล็ก จะมีไม้ใหญ่บ้างตามริมน้ำ และบนโคกหรือเนิน ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชน ในฤดูฝนน้ำจะนองท่วมมีลักษณะคล้ายทะเล ในยามแล้งพื้นที่จะแห้งหายไปจนหมด สัตว์ป่าจะอาศัยอยู่ตามป่าโคกและในทุ่งหญ้า ขาดเส้นทางคมนาคมในการติดต่อกัน พื้นที่ดินเค็มกระจายเต็มทุ่งกว้าง มีการต้มเกลือสินเธาว์ไว้ขายแลกสินค้า ปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ มีการปลูกข้าวพื้นเมืองไว้เพื่อการบริโภค สัตว์เลี้ยงที่มีไว้ใช้งาน ได้แก่ วัว ควาย โดยเฉพาะวัวจะเลี้ยงปล่อยทุ่ง

            ไม่ว่าดินแดนนี้จะได้ชื่อในด้านความแห้งแล้งกันการ แต่ในฤดูฝนจะมีน้ำชุ่มอยู่ทั่วไป เกษตรกรที่ยากจนและต้องการพื้นที่เพาะปลูกข้าวอาหารหลักของคนเอเชีย เริ่มมีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาจับจอง จนถึงปี 2497 นายวิวัฒน์ พูนศรีสุวรนันท์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกรรมาธิการงบประมาณ ได้เสนอให้มีการสำรวจและพัฒนาโดยกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง

            ปี พ.ศ.2514 เริ่มมีการสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน กำหนดเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 2.1 ล้านไร่ และการใช้แผนที่ดิน ได้จัดนำรายการเสนอเมื่อ มกราคม 2518 และนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาลมีมติรับหลักการโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2519 และได้รับอนุมัติงบกลางปีงบประมาณ 2520 จำนวน 5 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งสำนักงานในทุ่งกุลาร้องไห้ มติคณะรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2520 ให้ใช้งบประมาณ 1 ล้านบาท จัดตั้งสำนักงานในทุ่งกุลาร้องไห้ และต่อการเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2520 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการจัดตั้งศูนย์โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้  เพื่อเร่งปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทุ่งกุลาร้องไห้ โดยเฉพาะทรัพยากรที่ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ โดยขยายการดำเนินงานให้เพิ่มมากขึ้น  และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพื่อป้องกันแก้ไขความเสื่อมโทรมและพัฒนาทรัพยากรให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุด ซึ่งนายพิศิษฐ สิทฺธิวงศ์ เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ (สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด) คนแรกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2520 เข้ามาดำเนินการพัฒนาพื้นที่บ้านกู่ ตำบลสระคุ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีการเสนอขอรับการช่วยเหลือในทางวิชาการ และงบประมาณจากประเทศออสเตรเลีย ตามที่รัฐบาลได้มีมติให้ไว้แต่ต้น แผนแม่บทโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้โดยผ่านมติ ครม. เมื่อ 9 ตุลาคม 2522 จนถึงปี 2524 ได้ดำเนินการเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 มีหน่วยงาน 22 หน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ ได้รับงบประมาณครั้งแรกให้ดำเนินการตามรูปแบบในปีงบประมาณ 2525 มีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ มีผู้อำนวยการโครงการและผู้จัดการโครงการเป็นผู้บริหารงานในพื้นที่ โครงการนี้ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจนถึงฉบับที่ 7 หน่วยงานต่างๆ ไม่สามารถได้รับงบประมาณสนับสนุน เนื่องจากประเทศประสพปัญหาเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545 – 2549) มีมติ ครม. เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2547 ที่จังหวัดนครพนม รับหลักการโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือว่าเป็นแหล่งข้าวหอมมะลิของโลก

            จนกระทั่งปี พ.ศ.2527 กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่โดยเปลี่ยนจากศูนย์โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นสถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 21 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมพัฒนาที่ดิน  มีเนื้อที่ประมาณ 600 – 0- 57 ไร่

                          สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด   สังกัด สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4  จังหวัดอุบลราชธานีกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดิมเป็นที่ทำการศูนย์โครงการพัฒนาที่ดินทุ่งกุลาร้องไห้ที่ตั้ง หมู่ที่ 21 บ้านกู่น้อยพัฒนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2527 กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ โดยเปลี่ยนจากศูนย์โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ เป็น สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด เลขที่ 9 หมู่ที่ 21 บ้านกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน มีเนื้อที่ประมาณ 612-0-53 ไร่ 

 

ข่าวกรมพัฒนาที่ดิน

ขอบเขตรับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน

หน่วย ๑
รับผิดชอบ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย อำเภอพนมไพร อำเภอหนองฮี
หน่วย ๒
รับผิดชอบ อำเภอเสลภูมิ อำเภอธวัชบุรี อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเชียงขวัญ
หน่วย ๓
รับผิดชอบ อำเภอเมือง อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอจังหาร อำเภออาจสามารถ
หน่วย ๔
รับผิดชอบ อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอเมืองสรวง
หน่วย ๕
รับผิดชอบ อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก อำเภอโพธิ์ชัย
วิชาการ

เอกสารวิชาการ / เผยแพร่

ดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่

ลำดับที่รายละเอียดวันที่เผยแพร่ดาวน์โหลด
1 เเบบฟอร์มการของเเหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 26 พฤศจิกายน 2562
2 No Gift Policy งดรับ งดให้ ของขวัญจากการปฏิบัติหน้าที่ 9 พฤษภาคม 2566
3 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.1 17 มีนาคม 2563
4 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.2 17 มีนาคม 2563
5 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.3 17 มีนาคม 2563
6 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.6 17 มีนาคม 2563
7 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.7 17 มีนาคม 2563
8 โปสเตอร์ หญ้าแฝก 17 มีนาคม 2563
9 โป๊สเตอร์ การจัดการดินเค็ม 28 สิงหาคม 2564
10 โป๊สเตอร์ การจัดการดินทรายจัด 28 สิงหาคม 2564
11 โป๊สเตอร์ การจัดการดินปนกรวด 28 สิงหาคม 2564
12 โป๊สเตอร์ การไถกลบตอซัง 28 สิงหาคม 2564
13 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.9 14 มกราคม 2565
14 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.12 14 มกราคม 2565
15 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.11 14 มกราคม 2565
16 ชุดดินภาคอีสาน 14 มกราคม 2565
17 คู่มือแหล่งน้ำในไร่านอกเขตชลประทาน 14 มกราคม 2565
18 โปสเตอร์การขยายพันธุ์หญ้าแฝก 14 มกราคม 2565
19 โปสเตอร์ หน้าที่ของหญ้าแฝก 14 มกราคม 2565
20 โปสเตอร์ พืชปุ๋ยสด 14 มกราคม 2565
21 คู่มือ การพัฒนาที่ดินสำหรับหมอดินอาสา 14 มกราคม 2565
22 คู่มือ การพัฒนาที่ดินสำหรับหมอดินอาสา 14 มกราคม 2565
23 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพสูง โดยใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. 14 มกราคม 2565
24 หญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์และน้ำ 14 มกราคม 2565
25 หญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์และน้ำ Vol.2 14 มกราคม 2565
2 โปสเตอร์ 3 ปัจจัย 4 มาตรการ 5 ขั้นตอน เพื่อรับมือ ภัยเเล้ง กรมพัฒนาที่ดิน 30 มกราคม 2563

ปฏิทินหน่วยงาน

วีดีโอ องค์ความรู้